ความเป็นมา อักษรย่อ : ส.ธ. / S.T. คติพจน์ : นิมิตฺตํ สาธุรูปานํ กตญฺญูกตเวทิตา ความกตัญญูกตเวทีเป็นเครื่องหมายของคนดี ตราประจำโรงเรียน : พระบรมธาตุไชยาลอยเหนือเมฆ ช้างสามเศียร ดวงประทีป เอราวัณทรงเครื่อง ล้อมรอบด้วยคติพจน์ สีประจำโรงเรียน : ชมพู-เขียว ต้นไม้ประจำโรงเรียน : กัลปพฤกษ์ คำขวัญ : โรงเรียนสุราษฎร์ธานี เกียรติศักดิ์ศรีเป็นหนึ่ง เพลง : มาร์ชโรงเรียนสุราษฎร์ธานี, มาร์ชชมพู-เขียว โรงเรียนสุราษฎร์ธานีโรงเรียนรัฐบาลสังกัดเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 11 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ เปิดสอนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และตอนปลาย แบบสหศึกษา ตั้งอยู่เลขที่ 88 ถนนดอนนก ตำบลตลาด อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี บนเนื้อที่ประมาณ 35 ไร่ จำนวนห้องเรียน 72 ห้อง โรงเรียนสุราษฎร์ธานี มีที่มาสืบต่อจากโรงเรียนประถมศรีสวัสดิ์มงคล ซึ่งตั้งอยู่ในวัดธรรมบูชา(วัดเลียบ)มีพระสอน โสภโณ เป็นครูใหญ่ จากหลักฐานปรากฎว่า เดือนสิงหาคม 2450 พระมหาวรรณ สกุลมันตราภรณ์) กับเจ้าอธิการกลับ ( สกุลปาลิต) ได้สร้างอาคารถาวรขึ้นหลังหนึ่ง ด้วยทุนทรัพย์ ของผู้มีจิตศรัทธากับการศึกษา(รื้อลงในปี พ.ศ.2499 เพราะทรุดโทรมมาก) เดือนมิถุนายน 2451 กระทรวงธรรมการ ได้ส่งขุนศรเกษตรศึกษากร (รุ่ง ศรเก๎ษตริน Sarakshetrin) มาเป็นข้าหลวงธรรมการประจำมณฑลชุมพรคนแรก เพื่อดำเนินการ จัดการศึกษา ให้เข้าระเบียบแผนใหม่ ขุนศรเกษตรศึกษากร จึงจัดให้อาคารที่ พระมหาวรรณกับเจ้าอธิการกลับสร้างไว้ เป็นโรงเรียนตัวอย่างมณฑลชุมพร โดยได้แยกนักเรียนชั้นสูงมาเรียน บนอาคารเรียนที่สร้างใหม่ มีนายเฟื่อง ตุวินันท์ ผู้ช่วยข้าหลวงธรรมการ มณฑลชุมพร ทำการแทนครูใหญ่ 18 พฤษภาคม 2452 กระทรวงธรรมการ ได้ส่ง นายเปลื้อง อายณโยธิน มาเป็นครูใหญ่โรงเรียนตัวอย่างมณฑลชุมพร มีหน้าที่ดูแลโรงเรียนประถมศรีสวัสดิ์มงคลและ โรงเรียนศรีสุพรรณดิษฐ์ ซึ่งตั้งอยู่ที่วัดพระโยค มีขุนศรเกษตรศึกษากร (รุ่ง ศรเก๎ษตริน Sarakshetrin) เป็นครูใหญ่ 10 กรกฎาคม 2457 ได้ย้ายนักเรียนโรงเรียนศรีสุพรรณดิษฐ์และโรงเรียนประถมศรีสวัสดิ์มงคล มารวมกับโรงเรียนตัวอย่างมณฑลชุมพร 19 กรกฎาคม 2458 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนนามมณฑลสุราษฎร์ และเปลี่ยนนามเมืองไชยาเป็น สุราษฎร์ธานี ดังนั้นชื่อโรงเรียน จึงได้เปลี่ยนเป็นโรงเรียนตัวอย่างมณฑลสุราษฎร์ และต่อมาเปลี่ยนเป็น โรงเรียน ประจำมณฑลสุราษฎร์ พ.ศ.2459 ได้รวมโรงเรียนบำรุงดรุณี และโรงเรียนกุมารีวิทยาเข้ามาร่วมด้วย โรงเรียนประจำมณฑลสุราษฎร์จึงกลายเป็นโรงเรียนสหศึกษา 1 เมษายน 2469 ทางราชการประกาศยุบมณฑลสุราษฎร์ เป็นจังหวัดสุราษฎร์ธานี ชื่อโรงเรียนจึงเปลี่ยนเป็น โรงเรียนประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี พ.ศ.2485 โรงเรียนประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานีได้จัดการเรียนใหม่ โดยแยกนักเรียนหญิงไปเรียน ที่โรงเรียนสตรีประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี และนักเรียนชายไปเรียนที่โรงเรียนประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี พ.ศ.2499 โรงเรียนได้ขยายถึงชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ในรูปแบบสหศึกษา ใช้ชื่อว่า “ขั้นเตรียมอุดมศึกษาแผนกวิทยาศาสตร์” พ.ศ.2507 ย้ายโรงเรียน มาตั้งที่ ถนนดอนนก สถานที่ตั้งในปัจจุบัน พ.ศ.2517 ทิศทางการพัฒนาของโรงเรียนสุราษฎร์ธานี ระยะ 4 ปี (พ.ศ.2558-2561) วิสัยทัศน์ (Vision) นักเรียนเก่ง ดี มีคุณธรรม เป็นผู้นำด้านวิชาการระดับมาตรฐานสากล บนพื้นฐานความเป็นไทย ก้าวทันเทคโนโลยีโดยครูและบุคลากรมืออาชีพ บริหารตามหลักธรรมาภิบาล ด้วยความร่วมมือของทุกภาคส่วน พันธกิจ (Mission) 1. จัดการศึกษาให้นักเรียนมีความรู้ตามมาตรฐานสากล และมีศักยภาพในการแข่งขันระดับนานาชาติ 2. ส่งเสริมให้นักเรียน ครูและบุคคากรในสถานศึกษา มีวินัย คุณธรรม จริยธรรมเป็นแบบอย่างที่ดีต่อสังคม 3. นำสื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยมาใช้ในการบริหารจัดการและการจัดการเรียนการสอน 4. พัฒนาศักยภาพครูและบุคลากรอย่างต่อเนื่องให้สามารถจัดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพตามจรรยาบรรณวิชาชีพ 5. จัดระบบการบริหารจัดการให้ทันสมัย โดยยึดหลักธรรมมาภิบาล เน้นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน 6. ส่งเสริมให้นักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษาเห็นคุณค่าและร่วมสืบสานความเป็นไทย ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 7. พัฒนาแหล่งเรียนรู้และสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ กลยุทธ์ (Strategy) 1. ส่งเสริมและพัฒนาความเป็นเลอศด้านวิชาการให้นักเรียนมีศักยภาพในการแข่งขันระดับนานาชาติ 2. ปลูกฝังและส่งเสริมความมีวินัย คุณธรรม จริยธรรมให้กับนักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา 3. เพิ่มประสิทธิภาพและส่งเสริมการใช้สื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้ 4. ส่งเสริม สนับสนุนครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีคุณภาพตามเกณฑ์ มาตรฐานวิชาชีพครู 5. ส่งเสริมและพัฒนาการบริหารจัดการด้วยระบบคุณภาพ เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล 6. ส่งเสริมนักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษาเห็นคุณค่าและร่วมสืบสานความเป็นไทย ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 7. พัฒนาแหล่งเรียนรู้และสภาพแวดล้อมที่ยั่งยืนให้เอื้อต่อการเรียนรู้ เป้าประสงค์ (Goal) 1. นักเรียนมีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานสากล และมีศักยภาพ ในการแข่งขันระดับนานาชาติ 2. นักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษามีวินัย คุณธรรม และจริยธรรมเป็นแบบอย่างที่ดีในสังคม 3. โรงเรียนจัดหาและใช้สื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยสำหรับการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้ 4. ครูและบุคลากรทางการศึกษา มีทักษธความรู้ความสามารถตามสมรรถนะสามารถปฎิบัติงานได้ตามมาตรฐานวิชาชีพและมีจรรยาบรรณ 5. โรงเรียนมีระบบการบริหารจัดการที่มีคุณภาพ เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาลทุกภาคส่วนมีส่วนร่วม 6. นักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษาเห็นคุณค่าและร่วมสืบสานความเป็นไทย ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 7. โรงเรียนมีแหล่งเรียนรู้และสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้อย่างมีความสุข
You must be logged in to post a comment.