
ในยุคปัจจุบันที่ใครหลาย ๆ คน ไม่ว่าจะวัยไหน นิยมและชื่นชอบการใช้งานอินเตอร์เน็ต แล้วหลาย ๆ คนก็สมัครใช้บริการต่าง ๆ เช่น E-mail, Facebook, Twitter หรือเว็บไซต์ที่ให้บริการต่าง ๆ สิ่งหนึ่งที่สำคัญในการสมัครเป็นสมาชิกเว็บไซต์ต่าง ๆ นั่นก็คือพาสเวิร์ด (Password) หรือรหัสผ่านนั่นแหละ ถ้าเราตั้งรหัสผ่านนี้ง่ายเกินไปคนอื่นอาจจะไปใช้งานได้ แต่ถ้าเราตั้งไว้ยากเกินไปเราก็อาจจะจำไม่ได้ มาดูวิธีการตั้งรหัสผ่านที่ถูกวิธีกันดีกว่าครับ
Password ที่ควรหลีกเลี่ยง
อย่าให้เหมือนกับ Username เพราะจะเป็นการง่ายต่อการคาดเดา
สะกดชื่อกลับหลัง เช่น ชื่อ Albert ใช้ Password เป็น treblA เป็นต้น
ใช้ชื่อของ สามี/ภรรยา แฟน และ/หรือ ลูก หลาน
ชื่อของสัตว์เลี้ยงของท่าน เช่น สุนัข ฯลฯ
ชื่อบุคคลที่ท่านนับถือ ซึ่งรวมไปถึง ชื่อทีมกีฬาที่โปรดปราน ชื่อภาพยนตร์ เพลง ฯลฯ
ชื่อเมือง ประเทศ
ใช้หมายเลข บัตรประกันสังคม หมายเลขโทรศัพท์ วันเกิด ฯลฯ
ใช้คำ ซึ่งสามารถหาความหมายได้จากพจนานุกรมทั่วไป
ใช้ชื่อหรือนามสกุลเป็นภาษาไทย โดยพิมพ์ในโหมดแป้นพิมพ์ภาษาอังกฤษ เช่น ชื่อ ฉัตรชัย ใช้ Password เป็น Cy9yi=yp เป็นต้น
Password ที่ควรใช้
เป็นคำที่ตั้งขึ้นเอง โดยไม่ปรากฏในพจนานุกรม
ใช้คำที่ยากต่อการคาดเดา แต่จำง่าย
ควรเปลี่ยน Password ให้บ่อยที่สุดเท่าที่ทำได้ เช่น อย่างน้อย 3 เดือนต่อครั้ง
ต้องเลือกเปลี่ยน Password ให้แตกต่างกันในแต่ละครั้ง ไม่ควรใช้ซ้ำ
เกณฑ์การเปลี่ยน Password
Password ต้องมีความยาว 6-8 ตัวอักษร
ห้ามตั้ง Password เป็นตัวอักษร หรือตัวเลขทั้งหมด
Passwordต้องประกอบด้วยข้อใดข้อหนึ่ง ดังนี้• ตัวอักษรผสมกับตัวเลข โดยมีตัวเลขตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นไป
• ตัวอักษรผสมกับอักขระพิเศษ โดยมีอักขระพิเศษตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นไป
• ตัวอักษรผสมกับตัวเลขและอักขระพิเศษโดยมีตัวเลขและอักขระพิเศษรวมกันตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นไป
หมายเหตุ
– อักขระพิเศษ เช่น @ # $ % ยกเว้น ‘ (Single quote) และ “ (Double quote)
– ตัวอักษรตัวเดียวกัน ตัวพิมพ์เล็กและตัวพิมพ์ใหญ่จะต่างกัน (Case Sensitive) เช่น a และ A จะถูกมองเป็นคนละตัวกัน ดังนั้นโปรดจำให้มั่น หากมีการใช้ตัวอักษรตัวเล็กตัวใหญ่ผสมกัน
ห้ามตั้ง Password ให้เหมือนกับ Username หรือนามสกุลของผู้ใช้
ห้ามตั้ง Password ที่มี 3 ตัวอักษรแรกซ้ำกับ 3 ตัวอักษรแรกของ Username
จะเห็นได้ว่าการตั้ง Password ที่ถูกวิธีนั้นค่อนข้างยาก และใช้เวลา เมื่อนำมาใช้ในระยะแรกจะไม่สะดวก เพราะจำยาก แต่เป็นเพียงช่วงแรกๆ เท่านั้น หลังจากนั้นก็จะจำได้เอง การใช้งานก็จะคล่องตัวขึ้น และโอกาสที่จะถูกลักลอบนำไปใช้ก็ยากขึ้น
อ้างอิงจาก http://www.bu.ac.th/hotnews/apr_june46/password/