การสอนบนเว็บ หรือการสอนโดยใช้เว็บเป็นฐาน (Web - Based Instruction)


         ความหมาย
         การสอนบนเว็บ (Web-Based Instruction) เป็นการผสมผสานกันระหว่างเทคโนโลยีปัจจุบัน กับกระบวนการออกแบบการเรียนการสอน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทางการเรียนรู้ และแก้ปัญหาในเรื่องข้อจำกัดทางด้านสถานที่และเวลา โดยการสอนบนเว็บจะประยุกต์ใช้คุณสมบัติและทรัพยากรของเวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web) ในการจัดสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมและสนับสนุนการเรียนการสอน ซึ่งการเรียนการสอนที่จัดขึ้นผ่านเว็บนี้ อาจเป็นบางส่วนหรือทั้งหมดของกระบวนการเรียนการสอนก็ได้
         การสอนบนเว็บ เป็นรูปแบบการเรียนการสอนที่แตกต่างไปจากการเรียนในห้องเรียน กล่าวคือผู้เรียนจะเรียนผ่านจอคอมพิวเตอร์ซึ่งต่อเข้ากับเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยผู้เรียนจะสามารถเรียนจากที่ใด หรือในเวลาใดก็ได้ ยกเว้นในบางหลักสูตรที่ออกแบบให้ผู้เรียนเข้ามาเรียนในเวลาที่กำหนด เช่น ในลักษณะของการออกอากาศบนเว็บ (Web Cast) โดยปกติแล้ว ขั้นตอนการสอนบนเว็บจะเริ่มจากการที่ผู้เรียนเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ตหรืออินทราเน็ต และใช้บราวเซอร์ (โปรแกรมอ่านเว็บ) เปิดไปยังเว็บไซต์การศึกษาที่ได้ออกแบบไว้ บางกรณีผู้เรียนจะต้องมีการลงทะเบียนก่อนเพื่อขอรหัสผ่านเข้าเรียน หลังจากนั้นผู้เรียนจะศึกษาเนื้อหาโดยวิธีในการศึกษา อาจเป็นการอ่านข้อความบนจอ หรือโหลดเนื้อหาลงมายังเครื่องของตน หรือสั่งพิมพ์ออกทางเครื่องพิมพ์เพื่อศึกษาภายหลังก็ได้ โดยผู้เรียนจะจะมีการโต้ตอบกับเนื้อหาบทเรียนซึ่งใช้การนำเสนอในลัษณะของไฮเปอร์มีเดียหรือสื่อประสมต่าง ๆ อันได้แก่ ข้อความ ภาพนิ่ง เสียง กราฟิก วีดีทัศน์ ภาพเคลื่อนไหว ซึ่งสามารถออกแบบให้เนื้อหาี่มีความสัมพันธ์เชื่อมโยง (Link) เข้าไว้ด้วยกัน ซึ่งนอกจากจะทำให้ผู้เรียสามารถเรียกอ่านเนื้อหาที่ผู้สอนเตรียมไว้ได้ตามปรกติแล้ว ยังสามารถเรียกอ่านเนื้อหาที่ผู้สอนเชื่อมโยงมา้จากเว็บไซต์อื่น ๆ จากทั่วโลก นอกจากนี้ผู้เรียนจะสามารถโต้ตอบกับผู้เรียนอื่น หรือ กับผู้สอนได้ โดยการโต้ตอบนี้อาจเป็นได้ทั้งแบบเวลาเดียวกันและต่างเวลากัน และในลักษณะของบุคคลต่อบุคคล บุคคลต่อกลุ่ม หรือกลุ่มต่อกลุ่มก็ได้ ในบางครั้งผู้เรียนอาจจะต้องทำการทดสอบหลังจากการเรียนด้วย และในกรณีที่ผู้สอนทำการสอนบนเว็บอย่างเต็มรูปแบบ ผู้เรียนจะต้องรับ-ส่งงาน และเข้ามาตรวจสอบผลป้อนกลับบนเว็บไซต์ด้วย

         คุณลักษณะของการสอนบนเว็บ
         คุณลักษณะสำคัญของเว็บซึ่งเอื้อประโยชน์ต่อการจัดการเรียนการสอนมีอยู่ 8 ประการ คือ
         1. การที่เว็บเปิดโอกาสให้เกิดการปฏิสัมพันธ์ (Interactive) ระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน และผู้เรียนกับผู้เรียน หรือผู้เรียนกับเนื้อหาบทเรียน
         2. การที่เว็บสามารถนำเสนอเนื้อหา ในรูปแบบของสื่อประสม (Multimedia)
         3. การที่เว็บเป็นระบบเปิด (Open System) ซึ่งอนุญาตให้ผู้ใช้มีอิสระในการเข้าถึงข้อมูลได้ทั่วโลก
         4. การที่เว็บอุดมไปด้วยทรัพยากร เพื่อการสืบค้นออนไลน์ (Online Search / Resource)
         5. ความไม่มีข้อจำกัดทางสถานที่และเวลาของการสอนบนเว็บ (Device, Distance and Time Independent) ผู้เรียนที่มีคอมพิวเตอร์ในระบบใดก็ได้ ซึ่งสามารถต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ต จะสามารถเข้าเรียนจากที่ใดหรือในเวลาใดก็ได้
         6. การที่เว็บอนุญาตให้ผู้เรียนเป็นผู้ควบคุม (Learner Controlled) ผู้เรียนสามารถเรียนตามความพร้อม ความถนัด และความสนใจของตน
         7. การที่เว็บมีความสมบูรณ์ในตนเอง (Self- contained) ทำให้เราสามารถจัดกระบวนการเรียนการสอนทั้งหมดผ่านเว็บได้
         8. การที่เว็บ อนุญาตให้มีการติดต่อสื่อสารทั้งแบบเวลาเดียว (Synchronous Communication) เช่น Chat และต่างเวลากัน (Asynchronous Communication) เช่น Web Board เป็นต้น

         ลักษณะของการสอนบนเว็บ
         การจัดการสอนบนเว็บสามารถทำได้ใน 3 ลักษณะด้วยกัน คือ
         1. การจัดการสอนบนเว็บ โดยที่ไม่ต้องมีการเข้าชั้นเรียน
         2. การสอนบนเว็บเป็นส่วนใหญ่ ในขณะที่ยังมีการนัดหมายมาเข้าชั้นเรียนบ้าง
         3. การจัดการสอนบนเว็บ เพื่อเสริมการเรียนการสอนในชั้นเรียนปรกติ

         ขั้นตอนในการจัดการสอนบนเว็บ
         1. ตัดสินใจเลือกลักษณะในการสอนบนเว็บ
         2. กำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายของหลักสูตรที่จัดการสอนบนเว็บ
         3. ศึกษาคุณลักษณะของผู้เรียน          
         4. ออกแบบโครงสร้างของเว็บ โดยการกำหนดโครงสร้างของเว็บคร่าว ๆ ก่อนที่จะกำหนดรายละเอียด โดยพิจารณาจากวัตถุประสงค์ที่ได้กำหนดไว้ในข้อ 2 และ
         5. หาความรู้และทักษะการใช้โปรแกรมต่าง ๆ ที่จำเป็น เช่น
             - โปรแกรมช่วยในการจัดการสอนบนเว็บ
             - โปรแกรมในการสร้างโฮมเพจรายวิชา
             -โปรแกรมอ่านข้อมูลบนเว็บ (Web Browser) 
             - โปรแกรมไปรษณีย์ อิเล็กทรอนิกส์ (E-mail)
             - โปรแกรมการประชุมทางคอมพิวเตอร์ เช่น Web Board เป็นต้น
         6. เตรียมเนื้อหาในรูปการสอนบนเว็บ ซึ่งครอบคลุมเพจต่าง ๆ เช่น
             - โฮมเพจหรือเว็บเพจแรกของเว็บไซต์ ซึ่งควรจะมีข้อความ ทักทายต้อนรับ กล่องสำหรับใส่ชื่อผู้เรียนและรหัสลับ และี้อาจเสนอเนื้อหาสั้น ๆ ที่จำเป็นเกี่ยวกับหลักสูตร รวมทั้งรายชื่อผู้ที่เกี่ยวข้องกับการสอน
             - เว็บเพจแสดงภาพรวมของหลักสูตร (Course Overview) เช่น เนื้อหาโดยสังเขป วัตถุประสงค์ เป้าหมาย วิธีการเรียน
             - เว็บเพจแสดงสิ่งจำที่เป็นในการเรียน (Course Requirements) เช่น เอกสาร ทรัพยากรการศึกษาระบบเครือข่าย (On-line Resourcse) รวมทั้งเครื่องมือต่าง ๆ ทั้งฮาร์ดแวร์ และซอฟท์แวร์
             - เว็บเพจที่แสดงข้อมูลสำคัญ ๆ เช่น การติดต่อผู้สอน การเชื่อมโยงไปยังเว็บเพจคำประกาศ / คำแนะนำการเรียน การเชื่อมโยงไปยังการใช้ห้องสมุด หรือนโยบายของสถาบันการศึกษา
             - เว็บเพจแสดงบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ที่เกี่ยวข้อง (Responsibilities) ได้แก่ สิ่งที่คาดหวังจากผู้เรียน กำหนดการสั่งงานที่ได้รับมอบหมาย วิธีหรือเกณฑ์การประเมิน เ ป็นต้น
             - เว็บเพจกิจกรรมที่มอบหมายให้ทำ (Assignment) แสดงงานที่มอบหมายให้ผู้เรียนทำ เช่น การบ้าน กำหนดส่งงาน การตรวจงาน และกิจกรรมเสริมต่าง ๆ ที่เหมาะสม
             - เว็บเพจที่แสดงกำหนดการเรียน (Course Schedul )
             - เว็บเพจสนับสนุนการเรียน (Resources)
             - เว็บเพจการอภิปรายสำหรับการสนทนา แลกเปลี่ยนความคิดเห็น สอบถามปัญหาการเรียนระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน ทั้งในรูปของ Asynchronous เช่น Web Board หรือ Synchronous เช่น Chat เป็นต้น
             - เว็บเพจคำถามคำตอบที่พบบ่อย (FAQ)
         7. การออกแบบและพัฒนากิจกรรมการสอนที่เหมาะสมกับการสอนบนเว็บ เช่น การจัดเตรียมแหล่งความรู้ สำหรับผู้เรียนเข้าไปศึกษา การใช้ประโยชน์จากไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อการติดต่อสื่อสารกับผู้สอน หรือผู้เรียนอื่น ๆ
การกำหนดกิจกรรมหรืองานให้ผู้เรียนทำเป็นรายบุคคลหรือ กลุ่มย่อย
         8. ออกแบบการประเมินผลการเรียนของผู้เรียน
         9. เตรียมความพร้อมในด้านปัญหาเทคนิค เช่น การเตรียมการเพื่อสนับสนุนส่งเสริม และให้ความช่วยเหลือทางด้านเทคนิคแก่ผู้เรียน
       10. เตรียมความพร้อมในด้านการเข้าถึงเครือข่ายสำหรับผู้เรียน เช่น การจัดให้มีคอมพิวเตอร์ที่สามารถเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายที่สะดวกและทั่วถึง
       11. ทดลองใช้งาน เพื่อหาข้อผิดพลาด และปรับปรุงแก้ไขก่อนที่จะนำไปใช้จริง
       12. หลังจากที่ได้จัดการสอนบนเว็บจริงแล้ว ควรประเมินผลการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้ได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ ในการปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นต่อไป

http://www.thaicai.com/articles/wbi2.html
http://202.143.128.66/Eknow/wbi.htm
http://www.bcns.ac.th/www.html
http://vdo.kku.ac.th/mediacenter/library/document/view-document.php?library_id=1730&lang=th&pid=1421&title=E-Education+and+Web-Based+Learning
http://202.29.15.135/datacom/commuuser/pages/mean_elearning/mean_elearning_page1.htm
http://elearning.utcc.ac.th/main/Page1.htm
http://se-ed.net/highway/data.html
http://vod.msu.ac.th/itdc/article/wichit/007.htm
การเปรียบเทียบการสอนในชั้นเรียนปกติกับการสอนบนเว็บ
http://www.geocities.com/pmpsci/e-learn/Thesis2.doc
วิทยานิพนธ์
การศึกษาเปรียบเทียบผลการเรียนรู้วิชาเคมี เรื่องสมบัติตารางธาตุ
ระหว่างการจัดการเรียนรู้โดยใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ต กับการจัดการเรียนรู้ตามปกติ
ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนพรหมานุสรณ์จังหวัดเพชรบุรี
รศ.ดร.กิดานันท์ มลิทอง : เทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรม ISBN 974-346-173-6


 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


Home I e - learning I e - library I Photo Gallery I Index