ซีดีและดีวีดี (Compact Disc & Digital Video Disc)


         ซีดี (Compact Disc) คือแผ่นออพติคอลเก็บข้อมูลดิจิทัลต่าง ๆ ซึ่งเดิมพัฒนาสำหรับเก็บเสียงดิจิทัล ซีดีคือมาตรฐานรูปแบบการบันทึกเสียงทางการค้าในปัจจุบัน
        แผ่นซีดี หรือซีดี-รอม (CD-ROM : Compact Disc-Read Only Memory) ประดิษฐ์ในนามบริษัท จุดเริ่มต้นคือปี 1978 บริษัทฟิลิปส์และโซนี่จับมือกันผลิตคอมแพ็กดิสก์สำหรับบันทึกเสียง หรือ ซีดขึ้น ซึ่งขณะนั้นฟิลิปส์พัฒนาเครื่องเล่นเลเซอร์ดิสก์ออกจำหน่ายแล้ว และโซนี่ก็ได้วิจัยการบันทึกเสียงแบบดิจิตอลมานานนับสิบปีแล้ว
         ดีวีดี (Digital Video Disc หรือ Digital Versatile Disc : DVD) คือ ซีดีที่สามารถบันทึกข้อมูล ภาพ เสียง และข้อมูลทางคอมพิวเตอร์ได้ และถึงแม้ดีวีดีจะมีหน้าตาเหมือนกันกับซีดี แต่ว่าสามารถบันทึกข้อมูลได้มากกว่าถึง 7 ถึง 14 เท่าเลยทีเดียว จุดมุ่งหมายของดีวีดีก็เพื่อที่จะรวบรวมข้อมูลทุก ๆ อย่าง เช่น ความบันเทิงภายในบ้าน ข้อมูลทางคอมพิวเตอร์ หรือในธุรกิจไว้ในแผ่นเพียงแผ่นเดียว รวมถึงเข้ามาแทนที่แผ่นซีดี วีดีโอเทป เลเซอร์ดิสก์ ซีดีรอม หรือแม้กระทั่งวีดีโอเกมส์ ขณะนี้ดีวีดีกำลังได้รับการสนับสนุนอย่างกว้างขวาง เนื่องจาก ดีวีดีให้ภาพและเสียงที่ดีกว่าเมื่อเทียบกับโทรทัศน หรือเทปวีดีโอทั่ว ๆ ไป นอกจากนั้นยังใช้งานสะดวก และทนทานกว่าด้วย

         รูปแบบของแผ่นดีวีดี
         • แผ่น DVD-ROM เป็นแผ่นดีวีดีที่บันทึกข้อมูลเพียงอย่างเดียวเหมือนกับซีดีรอม โดยการบันทึกข้อมูลจากโรงงาน เราไม่สามารถบันทึกข้อมูลเพิ่มเติมได้
         • แผ่น DVD-R (DVD-Recordable) เป็นแผ่นดีวีดีที่สามารถบันทึกข้อมูลได้เพียงครั้งเดียว โดยสามารถบันทึกได้ทั้งข้อมูลเพลงและวิดีโอ ขึ้นอยู่กับโปรแกรมที่ใช้เขียนแผ่น
         • DVD-RW (DVD-Rewritable) สามารถเขียนข้อมูลซ้ำได้หลายครั้ง จะเล่นได้กับไดรว์ DVD-R/RWบนเครื่องคอมพิวเตอร์เท่านั้น
         • แผ่น DVD+R/RW เป็นแผ่นที่ใกล้เคียงกับ DVD-RW เป็นมาตรฐานที่ทำให้แผ่นที่สามารถเขียนซ้ำได้ สามารถนำไปใช้งานได้กับเครื่องเล่นดีวีดีอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ไดร์วของดีวีดีบนคอมพิวเตอร์
         • แผ่น DVD-RAM (DVD-Random Access Memory) เป็นดิสก์แบบใหม่ที่กำลังได้รับความนิยม สามารถบันทึกซ้ำได้เช่นเดียวกับ DVD-R, DVD+R/RW การบันทึกข้อมูลจะเป็นแบบฮาร์ดดิสก์ ซึ่งจะต้องมีไดร์ฟชนิดพิเศษในการอ่านและเขียนข้อมูล จะใช้งานผ่านไดร์ฟดีวีดีปกติไม่ได้ แต่ข้อดีของดีวีดีชนิดนี้ก็คือ สามารถบันทึกข้อมูลซ้ำได้มากกว่า 100,000 ครั้งทำให้มันถูกนำไปใช้ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แบบใหม่มากขึ้น เช่น กล้องดิจิทัล

         คุณสมบัติพิเศษของดีวีดี
         1. คุณภาพของภาพและเสียง ระบบภาพของดีวีดีถูกบันทึกโดยใช้การบีบอัดภาพแบบ MPEG-2 ซึ่งจะให้คุณภาพของภาพและเสียงที่ดีกว่า
         2. การแสดงภาพแบบ Wide-Screen เนื่องจากโทรทัศน์ที่ใช้กันอยู่มีอัตราส่วนของจอภาพเป็น 4:3 แต่ภาพยนตร์ที่สร้างในปัจจุบันมีอัตราส่วนของภาพเป็น 16 : 9 หรือ 20 : 9 ดังนั้นเวลาที่นำภาพยนตร์มาบันทึกลงวิดีโอก็จะต้องตัดขอบบนและขอบล่างบางส่วนทิ้ง ด้วยเทคโนโลยีของดีวีดี ทำให้ชมภาพยนตร์ที่มีอัตราส่วน 16 : 9 ได้ซึ่งหมายความว่าจะต้องใช้ร่วมกับโทรทัศน์แบบ Wide-Screen ด้วย
         3. เลือกการทำงานแบบ Interactive เราสามารถเลือกมุมกล้องในการดูได้มากกว่า 1 มุมกล้อง ดีวีดีจะมีรายการให้เลือกรูปแบบการทำงาน ทำให้ผู้ใช้สามารถกำหนดสิ่งที่ตัวเองต้องการรับชมเหมือนกับเป็นผู้กำกับหนัง ซึ่งทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับแผ่นโปรแกรมแต่ละแผ่นด้วย
         4. สามารถให้ผู้ปกครองสามารถกำหนดรหัสผ่านในการชมภาพยนตร์ที่มีเรทอันไม่เหมาะสมกับอายุของเด็ก ๆ นอกจากนี้ยังสามารถชมภาพยนตร์ในแผ่นเดียวกันแต่เป็นเวอร์ชั่นในระดับที่ต่างกันได้
         5. วิดีโอหลายภาษา ผู้ชมภาพยนตร์สามารถเลือกภาษาที่ตนต้องการได้ เพราะแผ่นดีวีดีหนึ่งแผ่นจะเก็บซาวด์แทรคได้ถึง 8 ภาษาและคำบรรยายใต้ภาพอีก 32 ภาษา 

 

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%8B%E0%B8%B5%E0%B8%94%E0%B8%B5
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B5%E0%B8%94%E0%B8%B5-%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%A1

http://stores.col.co.th/webapp/commerce/command/ExecMacro/Central_Department_Store/
macros/pstatic_th_knowledge_visual2.d2w/report?language=thai&depart=powerbuy

http://www.student.chula.ac.th/~46801182/dvd/dvd.htm
http://www.banmoh.com/assets/tips/dvd-format.htm
http://www.matichon.co.th/youth/youth.php?tagsub=031104&tag950=03you30200947&show=1
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%8B%E0%B8%B5%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%A1
รศ.ดร.กิดานันท์ มลิทอง : เทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรม ISBN 974-346-173-6


 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 



Home I e - learning I e - library I Photo Gallery I Index